ทุกอย่างเป็นการเมือง: การเมือง และประวัติศาสตร์ที่ถูกสร้างผ่านพิพิธภัณฑ์ | พูดมาก Podcast EP.80
Description
ทุกอย่างเป็นการเมือง: การเมือง และประวัติศาสตร์ที่ถูกสร้างผ่านพิพิธภัณฑ์ | พูดมาก Podcast EP.80
โดยทั่วไปเราคงไม่ได้นึกถึงพิพิธภัณฑ์ในแง่ “การเมือง” แต่ในความเป็นจริงพิพิธภัณฑ์รวมทั้งประวัติศาสตร์และเรื่องราวที่ถูกเล่าผ่านการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เป็นสิ่งที่ถูกแยกออกจากการเมืองไม่ได้เลย …เดี๋ยวพูดให้ฟัง
เป้งฝากมา
หมายเหตุแก้ไขเนื้อหา
-Louvre: ไม่ได้เกิดขึ้นจากการขอของจากคนรวยมา แต่เป็นที่เก็บงานศิลปะส่วนพระองค์ของราชวงศ์บูรบงก่อน แล้วได้เปิดต่อสาธารณะจริง ๆ หลังการปฏิวัติฝรั่งเศสในฐานะสมบัติของชาติและประชาชนฝรั่งเศส (Oliver, Bette Wyn (2007). From Royal to National: The Louvre Museum and the Bibliothèque Nationale)
-Maqdala Crown: มิชชันนารีของอังกฤษไม่ได้ถูกฆ่า แต่ถูกจับเป็นตัวประกัน ทำให้อังกฤษนำทหารเข้าล้อมตีเมือง กษัตริย์ของเอธิโอเปียฆ่าตัวตาย มีการเผาเมืองและยึดสมบัติออกมาเป็นจำนวนมาก(https://web.archive.org/web/20081206014422/http://www.afromet.org/history/)
-อยากยืนยันจุดยืนทางด้านการส่งคืนวัตถุตามหลักการของ ICOM ว่าพิพิธภัณฑ์ไม่ควรเก็บของที่ประวัติ (Provenance) มีปัญหา โดยส่วนตัวเราเชื่อว่าพิพิธภัณฑ์ควรปฏิบัติตามหลักการนี้ ถ้าเกิดความขัดแย้งกับวัตถุชิ้นไหน แล้วไม่สามารถพิสูจน์ได้โดยหลักการว่าการได้มาไม่มีปัญหา ก็ไม่ควรปฏิเสธความเป็นไปได้ที่จะต้องคืน อย่างน้อยต้องมีการพูดคุยกันกับต้นทางเพื่อหาทางออก
-เรื่องเสา Totem Pole ที่เล่าไม่จบสามารถอ่านต่อได้ที่นี่ สุดท้ายก็เป็นการคืนของเก่าไป แล้วต้นทางทำเสาใหม่ส่งมาแลกกัน เป็นการ Compromise ที่ดี: https://plone.unige.ch/art-adr/cases-affaires/g2019psgolox-totem-pole-2013-haisla-and-sweden-and-museum-of-ethnography
-การเปิดเผยข้อมูลของราชการเข้าสู่หอจดหมายเหตุสหราชอาณาจักร ปัจจุบันมีกำหนด 20 ปี โดยที่ประชาชนสามารถร้องขอให้เปิดเผยข้อมูลบางอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนก่อนเวลาได้ด้วย: (https://www.legislation.gov.uk/ukpga/Eliz2/6-7/51 และ https://www.legislation.gov.uk/ukpga/2000/36/contents)
-จริง ๆ แล้วทราบว่ากรุงเทพก็มีพิพิธภัณฑ์ทำขึ้นเป็นที่เก็บรวบรวม Canon ของศิลปะไทยตั้งแต่สมัยประเพณีถึงปัจจุบัน อยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ (หอศิลป์เจ้าฟ้า) ตรงตีนสะพานปิ่นเกล้า แต่ที่พิพิธภัณฑ์ที่ว่า อาคารส่วนนิทรรศถาวรการปิดปรับปรุงมาเกือบ 10 ปีแล้ว จนถึงตอนนี้ และเท่าที่สอบถามมาก็ได้ความว่าจะปิดต่อไปแบบยังไม่มีกำหนดเปิด ตอนที่คุยเลยลืมไปว่ามีอยู่เพราะตั้งแต่ที่สนใจศิลปะขึ้นมาก็ไม่มีให้ดูแล้ว
หมายเหตุและแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
-พลวัตของพิพิธภัณฑ์ไทย: ความหมายใหม่ในสถานที่เดิม: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/254920
-นิยามพิพิธภัณฑ์ของ ICOM: https://icom.nl/en/activities/museum-definition
-ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Rosetta Stone – OWNERSHIP OF ANCIENT ARTIFACTS DEBATED AS EGYPTIANS SEEK RETURN OF ROSETTA STONE FROM BRITISH MUSEUM: https://www.milwaukeeindependent.com/newswire/ownership-ancient-artifacts-debated-egyptians-seek-return-rosetta-stone-british-museum/
How do we return the Rosetta Stone to Egypt?: https://cloudflare.egyptindependent.com/how-do-we-return-the-rosetta-stone-to-egypt/
-British Museum เปลี่ยนชื่อโปรเจกต์ปรับปรุงพิพิธภัณฑ์โดยเลิกใช้ชื่อ Rosetta Stone Project: https://www.theartnewspaper.com/2023/05/18/british-museum-drops-reference-to-the-rosetta-stone-from-title-of-major-refurbishment-plans
-พระคเณศหินทรายที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร: https://www.the101.world/the-king-and-indonesia/#_ftn5
-ของหาย 2000 กว่าชิ้น - Please return if found: British Museum seeks help to recover missing treasures: https://www.reuters.com/lifestyle/please-return-if-found-british-museum-seeks-help-recover-missing-treasures-2023-09-26/
-Quote เกี่ยวกับการสร้างความรับรู้จากบทความ “เรื่องเล่ากับการรับรู้ (Narratives and Subjectivity)” โดยไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร จากหนังสือ “ประเทศไทยในความคิดของเมธีวิจัยอาวุโส (เล่ม 2)”
-พิพิธภัณฑ์บ้านที่มีการ Curate ทั้งฝั่งเจ้าของบ้านและฝั่งคนใช้ รวมถึงมีนิทรรศการเกี่ยวกับทาสคนดำ: https://www.bristolmuseums.org.uk/georgian-house-museum/?gad_source=1&gclid=Cj0KCQiAyeWrBhDDARIsAGP1mW